วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การจำหน่ายพัสดุโดยการโอนให้วัด

   คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุได้ตอบข้อหารือเกี่ยวกับการโอนพัสดุ
ที่หมดความจำเป็นในการใช้งานให้กับวัดไว้ว่า
   ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ข้อ 157 (3)
จะต้องโอนให้แก่ส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ
บริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วงานอื่น ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะ
เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การสถานสาธารณกุศล
ตามมาตรา 47 (7) แห่งประมวลรัษฎากรเท่านั้น หากหน่วยงานผู้โอน
พิจารณาได้ว่า วัดดังกล่าว เป็นองค์การสถานสาธารณกุศล ตามมาตรา
47 (7) แห่งประมวลรัษฎากร หน่วยงานก็สามารถโอนได้

ที่มา :  คู่มือข้อหารือการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบ
           สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ, 2556

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อายุการใช้งานเพื่อการคำนวณค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์(ประเภทครุภัณฑ์ยานพาหนะและขนส่ง)

        
        กรมบัญชีกลาง ได้พิจารณาแก้ไขการกำหนดอายุการใช้งานสินทรัพย์ประเภทครุภัณฑ์ยานพาหนะและขนส่ง  ซึ่งเดิมกำหนดให้มีอายุการใช้งาน อย่างต่ำ 5 ปี อย่างสูง 8 ปี  เปลี่ยนเป็นให้มีอายุการใช้งานอย่างต่ำ 5 ปี และอย่างสูง 30 ปี เพื่อให้หน่วยงานสามารถใช้ดุลยพินิจเลือกกำหนดอายุการใช้งานครุภัณฑ์ยานพาหนะและขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอากาศยานและเรือที่เห็นว่า มีอายุการใช้งานสูงได้อย่างเหมาะสม   โดยให้หน่วยงานใช้เกณฑ์อายุการใช้งานที่กำหนดใหม่นี้กับครุภัณฑ์ยานพาหนะและขนส่งที่ได้มาตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป  
       สำหรับครุภัณฑ์ยานพาหนะและขนส่งที่หน่วยงานได้มาก่อนหน้านี้และยังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการปรับเกณฑ์อายุการใช้งานของกรมบัญชีกลางครัั้งนี้  ให้หน่วยงานสามารถพิจารณาปรับอายุการใช้งานเพิ่มขึ้นได้ตามความเหมาะสม  โดยถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี  ไม่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดทางบัญชีให้ใช้วิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป  และไม่ต้องทำการปรับปรุงบัญชีย้อนหลังสำหรับงวดก่อน ๆ ที่ได้ประมวลผลค่าเสื่อมราคาไปแล้ว

         ที่มา  หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0423.2/ว 284 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2555

วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การจำหน่ายพัสดุ โดยวิธีการขายทอดตลาด

      คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ได้กำหนดแนวทางและวิธีปฏิบัติเพิ่มเติม
ในการจำหน่ายพัสดุตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535
ข้อ 157 (1)  ดังนี้
     1. ให้ส่วนราชการดำเนินการจำหน่ายพัสดุ โดยถือปฏิบัติตามแนวทาง
การขายทอดตลาด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชบ์ มาตรา 509 -
มาตรา 517
     2. การประเมินราครทรัพย์สิน  ให้อาศัยหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ในการประกอบการพิจารณา ดังนี้
         2.1 ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด หรือราคาท้องถิ่นของ
สภาพปัจจุบันพัสดุนั้น ณ เวลาที่จะทำการขาย และควรมีการเปรียบเทียบราคา
ตามความเหมาะสม
         2.2 ราคาตามลักษณะ ประเภท ชนิดของพัสดุ และอายุการใช้งาน
รวมทั้งสภาพ และสถานที่ตั้งของพัสดุ กรณีไม่มีจำหน่ายทั่วไป
     ทั้งนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าส่วนราชการในการพิจารณาตามหลักเกณฑ์
และให้คำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการด้วย

ที่มา :  หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค (กวพ) 0421.3/ว 257  ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2552

การบันทึกบัญชีครุภัณฑ์

     กรมบัญชีกลาง ได้เคยมีหนังสือเวียนเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีวัสดุหรือครุภัณฑ์
เมื่อวันที่ 13 กันยายน ซึ่งในหนังสือเวียนดังกล่าว ได้กำหนดแนวปฏิบัติในการบันทึก
บัญชีครุภัณฑ์ไว้ ดังนี้
     1. ครุภัณฑ์ที่มีไม่ถึง 5,000 บาท ให้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายประเภท
ครุภัณฑ์มูลค่าต่ำกว่าเกณฑ์ และให้บันทึกรายละเอียดของครุภัณฑ์ดังกล่าว
ในทะเบียนคุมทรัพย์สิน เพื่อประโยชน์ในการควบคุมรายการทรัพย์สิน
ของทางราชการ โดยไม่ต้องคำนวณค่าเสื่อมราคาประจำปี
     2. ครุภัณฑ์มูลค่าตั้งแต่ 5,000 บาท ขึ้นไป ให้บันทึกรับรู้ตามราคาทุน
เป็นรายการสินทรัพย์ถาวร ในบัญชีของหน่วยงาน โดยบันทึกรายละเอียด
ของครุภัณฑ์ในทะเบียนคุมทรัพย์สิน และให้คำนวณค่าเสื่อมราคาประจำปี


ที่มา :  หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0410.3/ว 48  ลงวันที่ 13 กันยายน 2549